ราชินีแห่งไม้น้ำ

lotus

มาทำความรู้จักกับราชินีแห่งไม้น้ำ ชนิดของดอกบัวกันค่ะ

ดอกบัว (Lotus) ถือเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธมีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และยังเป็นสัญลักษณ์ของความอุมดมสมบูรณ์ ความดี และสัญลักษณ์แทนปัญญา การหลุดพ้นต่างๆ คนไทยจึงนิยมใช้ดอกบัวในการบูชาพรอยู่เสมอ และบางบ้านนิยมปลูกดอกบัวเพื่อความเป็นสิริมงคล ดอกบัวมีอยู่ทั้งหมด 3 สกุล ได้แก่

lotus

  1. สกุลปทุมชาติ (Nelumbo) – Lotus   

หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ บัวหลวง มีทั้งดอกซ้อน ดอกลา มีกลิ่นหอม ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียส่วนมากมักมีสีขาวและสีชมพู  ส่วนพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือมีสีเหลือง 

lotus
สกุลปทุมชาติ (Nelumbo) – Lotus แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ คือ

– ปทุม / บัวแหลมแดง

– ปุณฑริก (บุณฑริกา) / บัวแหลมขาว

– สัตตบงกช / บัวฉัตรแดง

– สัตตบุษย์ / บัวฉัตรขาว

Waterlily

  1. สกุลอุบลชาติ (Nymphaea) – Waterlily

บัวไทยในสกุลนี้ ได้แก่ บัวผัน บัวเผื่อน บัวขาบ บัวจงกลนี บัวสาย หรือบัวก้านอ่อน เพราะไม่มีหนาม จำแนกตามถิ่นกำเนิดได้ 2 ประเภท ดังนี้

สกุลอุบลชาติเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว (บัวฝรั่ง) พบในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ในเขตอากาศอบอุ่นไปจนถึงหนาวเย็น ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูพ้นน้ำเล็กน้อย บานตอนรุ่งเช้า เริ่มหุบตั้งแต่เที่ยงวันถึงช่วงบ่ายต้นๆ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

สกุลอุบลชาติเขตร้อน พบในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ดอกชูสูงเหนือผิวน้ำ อุบลชาติเขตร้อนยังจำแนกตามช่วงเวลาที่ดอกเริ่มบาน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. อุบลชาติเขตร้อนบานกลางวัน ได้แก่

– บัวเผื่อน มีดอกขนาดเล็ก สีขาวอมฟ้าอ่อนๆ ขนาดไม่เกิน 8 เซนติเมตร สีอ่อน มีกลิ่นหอม

– บัวผัน ลักษณะเดียวกับบัวเผื่อน มีสีฟ้าอ่อน แต่มีดอกใหญ่กว่า มีกลิ่นหอม

– บัวขาบ เป็นบัวไทยดั้งเดิมที่ปัจจุบันหาดูยาก มีดอกสีฟ้าหรือสีม่วง โทนสีจางจนถึงเข้ม

– บัวจงกลนี คาดว่าเป็นบัวพันธุ์ไทยแท้และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic plants) 

– บัวนางกวัก มีกลีบเลี้ยงยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดูคล้ายนิ้วมือ จึงเป็นที่มาของชื่อนางกวัก

– บัวยักษ์ออสเตรเลีย เป็นบัวขนาดใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

– บัวสุทธาสิโนบล มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ตั้งชื่อเพื่อเทิดพระเกียรติพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงนำพันธุ์จากอินโดนีเซียเข้ามาปลูกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2444

lotus

  1. อุบลชาติเขตร้อนบานกลางคืน ได้แก่

– กมุท/ เศวตอุบล คือ บัวสายสีขาว

– สัตตบรรณ คือ บัวสายสีแดง

– ลินจง คือ บัวสายสีชมพู

lotus

  1. สกุลวิกตอเรีย (Victoria) – Royal Waterlily, Victoria

คนไทยนิยมเรียกว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขอบใบยกขึ้นคล้ายกระด้ง เป็นมบเลี้ยงเดี่ยขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ก้านมีหนามแหลม ดอกบานช่วงกลางคืน หุบตอนเช้า บานนานประมาณ 3 วัน เมื่อเริ่มบานเป็นสีขาว แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงม่วงแดง กลิ่นหอมแรงมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้

– บัววิกตอเรีย อมาโซนิกา (Victoria amazonica) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ บัววิกตอเรีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 เมตร ก้านบัวยาว 7-8 เมตร พบอยู่ทั่วไปตามหนองน้ำตื้น ๆ ของแม่น้ำอะเมซอน วันที่ออกดอกวันแรกจะมีสีขาว แต่พอเข้าวันที่สองจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

– บัววิกตอเรีย สายพันธุ์อังกฤษ (Victoria cruziana) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน คือ ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

และเมื่อรู้สกุลของดอกบัวกันไปแล้ว ต่อไปเราจะพามารู้จักกับความหมายของดอกบัวตามสีต่างๆกันค่ะ

ดอกบัวก็มีหลายเฉดสี หลายความหมายเช่นกัน

-ดอกบัวสีชมพู เป็นบัวสีประเสริฐที่สุด เพราะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

-ดอกบัวสีขาว สื่อถึงความบริสุทธิ์ จิตใจที่สงบและมักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

-ดอกบัวสีแดง สื่อถึงความรักและความเห็นใจต่อผู้อื่น

-ดอกบัวสีน้ำเงิน สื่อถึงชัยชนะและปัญญา

-ดอกบัวสีม่วง สื่อถึงความลึกซึ้งของพุทธศาสนา

-ดอกบัวสีเหลือง สื่อถึงดวงอาทิตย์พลังงานและความสุข

 

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าลายดอกบัว เรามีเทียนหอม ๆ พร้อมกับตลับลายดอกบัวสวยๆ

ห้ามพลาดนะคะ เพราะนอกจากลายที่จะสื่อความหมายดีๆ แล้ว สินค้าทุกชิ้นของเรายังวาดลายด้วยมืออย่างประณีตบรรจงอีกทั้งยังมีกลิ่นให้เลือกมากกว่า 20 กลิ่นด้วยนะคะ

นอกจากนี้ตัวเทียนของเราทำมาจากไขข้าวหอมมะลิ100% ซึ่งเวลาเทียนละลายแล้วยังสามารถ นำน้ำตาเทียนมานวดมือ ซึ่งน้ำมันจากข้าวมะลิ อุดมไปด้วยวิตามินE ช่วยเติมความชุ่มชื้น และยังมีกลิ่นที่ผ่อนคลายอีกด้วยค่ะ

สำหรับใครที่สนใจสินค้า อยากให้เราแนะนำกลิ่นให้ หรือสนใจดูสินค้าลายอื่นเพิ่มเติม ทักอินบอกซ์ หรือไลน์มาหาเราได้ที่ @thaniya1988 ได้เลยค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น