8 การตกแต่งบ้านกับศิลปะร่วมสมัยในแต่ละยุค

8 การตกแต่งบ้านกับศิลปะร่วมสมัยในแต่ละยุค

สำหรับความโดดเด่นของการตกแต่งภายใน ในแต่ละสไตล์ให้มีกลิ่นอายที่ผสมผสานกันอยู่ ผ่านการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนที่ทำมาจากวัสดุต่างๆไม่ว่าจะเป็นการโชว์เนื้อวัสดุ เพื่อแสดงออกถึงความเรียบง่าย และวันนี้เรามีไอเดียสุดเจ๋งในการตกแต่งบ้านที่มีสไตล์ที่ไม่ เหมือนใครมาฝากอีกตามเคย โดยอิงจากศิลปะแต่ละยุคแต่ละสมัย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย

1. 20’s Art Deco

Art Deco คือศิลปะที่มีผลต่อการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายใน เกิด ขึ้นช่วงศตวรรษที่ 20s ในประเทศฝรั่งเศส และเริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง

โดยสไตล์นี้มีการใช้สีสันที่สว่างสดใส เส้นสายอ่อนช้อย มีการใช้รูปเหลี่ยมหรือรูปทรง เรขาคณิต ซึ่งมีสไตล์ที่หรูหราสง่างามผสมผสานความทันสมัยของแต่ละยุค และเซรามิกของ Thaniya ก็เหมาะอย่างยิ่งกับการแต่งบ้านสไตล์นี้ ด้วยรูปทรงและลวดลายงานเขียนมือบนเซรา มิกที่มีความอ่อนช้อย

2. 40’s Abstract Expressionism

Abstract Expressionism เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะที่ถือกำเนิดขึ้นในนิวยอร์ก ในช่วง ปี 1940-1950 ได้รับอิทธิพลจากกระแสศิลปะนามธรรม Abstract ในการแสดงออกของ อารมณ์ความรู้สึกผ่านการทำงานศิลปะที่ไม่ยึดติดกับความเป็นจริง

โดยการแต่งห้องสไตล์นี้จะเน้นไปทางอารมณ์ ลักษณะของเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งจะมี ลวดลายที่ไม่ตายตัว โดยจะแฝงไปด้วยความงดงามในสไตล์ของ Abstract และด้วยความโดด เด่นของ Abstract ที่อยู่บนลวยลายเซรามิกของ Thaniya ที่จะช่วยให้ห้องของคุณมีกลิ่นอาย ของยุค 40’s มากยิ่งขึ้น

3. 50’s Pop Art

Pop Art เป็นแนวการทำงานศิลปะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณปี 1950 แตกต่างกับ ศิลปะ Abstr.ct Expressionism ซึ่งเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก

การแต่งห้องก็จะเน้นไปในทางลวดลายกราฟิก เช่นลวดลายบน Thaniya Decorative Art สีสันแบบสไตล์ Pop Art จะทำให้บรรยากาศในห้องดูอบอุ่น ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย บ่งบอกถึง ความมีรสนิยม ให้สัมผัสที่นุ่ม

4. 60’s Minimalist

Minimalist เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 เสน่ห์ที่เรียบง่ายและดูเป็นธรรมชาติ ตกแต่ง อย่างบางเบาและเข้ากันด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่แสนธรรมดา เป็นคอนเซปท์การออกแบบที่เรียบง่าย

เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์ Minimalist นั้นมักจะมีโทนสีแบบโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ ด้วย ลวดลายการออกแบบการเขียนลายเซรามิกของ Thaniya ที่มีรูปทรงและความสมดุลและความ ผ่อนคลายก็ช่วยดึงความ Minimalist ที่แสนจะเรียบง่าย แต่ทว่าครบถ้วนในเรื่องของประโยชน์ การใช้สอย

5. 70s’ Graffiti Art

Graffiti Art ถือเป็นวัฒนธรรมนอกกระแสที่เปรียบได้กับสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาอย่างอิสระ เป็นตัวของตัวเองและแฝงด้วยเสน่ห์ที่น่าหลงใหล

และเมื่อนำมาผสมผสานกับการแต่งบ้านกับศิลปะร่วมสมัยนั้น ก็จะแสดงถึงอารมณ์ของเจ้าของ บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ของสี อารมณ์ของการจัดเฟอร์นิเจอร์ ลวดลายงานเซรามิกของ Thaniya ก็เป็นอีกจุดเด่น ที่แสดงได้ถึงอารมณ์ของ Graffiti ได้อย่างกลมกลืนและลงตัว

6. 80s’ Modern Art

Modern ยุคสมัยใหม่ เป็นการพยายามทำให้เกิดความแตกต่างกัน มีความโดดเด่นจากหลาก หลายปัจจัยการออกแบบ

ในการแต่งบ้านหรือแม้แต่ห้อง ฟังก์ชั่นการใช้งานจะมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยึดถือ แบบความเรียบง่าย และเน้นใช้รูปทรงแบบเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือแม้ กระทั่งวงกลม ของผลิตภัณฑ์เซรามิกของ Thaniya ก็นำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการตกแต่ง ได้

7. 90s’ Post-Modern

Post-Modern ยุคหลังสมัยใหม่ งานออกแบบมักจะออกไปในรูปแบบของการนำเอาลักษณะ เก่าๆ หรือรูปแบบต่างๆ มาปะติดปะต่อกัน จนเกิดเป็นงานใหม่ที่ดูแปลกตา

การแต่งห้องหรือแต่งบ้านโดยการเสริมลวดลายที่มีเอกลักษณ์และโดดเด่นไม่เหมือนใครด้วย งานเซรามิก Thaniya ทำให้บางมุมของบ้านหรือห้องดูแปลกตาและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

8. 2000s’ Contemporary Art

Contemporary Art ศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบัน มักได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย ทำให้เกิดการ ท้าทายต่อขอบเขตของงานศิลปะรูปแบบเดิมๆ

การตกแต่งดีไซน์บ้านให้ลักษณะแบบร่วมสมัย อย่างเช่นการนำเอาชิ้นงานต่างๆ นำมาผสม ผสานจนเกิดความลงตัวและความสมดุล Contemporary จะไม่ถือว่ามีอะไรที่ตายตัวเท่าไหร่ โทนสีอาจใช้สีเรียบๆ อย่างเช่น สีเหลือง สีครีม สีเทา สีเหล่านี้ที่อยู่บนลวดลายเซรามิกของ Thaniya ช่วยทำให้การตกแต่งดูปลอดโปร่งมากยิ่งขึ้น และทำให้ห้องดูน่าสนใจยิ่งขึ้น